บ่อยครั้งที่รถบรรทุกบดบังวิสัยทัศน์ในการมองเห็นของรถที่ขับตามหลังมาด้านหลัง ด้วยขนาดและโครงสร้างของรถที่ค่อนข้าง
ใหญ่ จึงอาจเป็นอันตรายทั้งต่อผู้ขับขี่และรถอื่น ๆ บนทางหลวง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการออกกฎหมายบังคับติดตั้ง GPS และรถ
สาธารณะหลาย ๆ ประเภทขึ้น และในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ กฎหมาย GPS และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เจ้าของ
กิจการและผู้ขับรถบรรทุกควรรู้เอาไว้
กฎหมาย GPS คืออะไร และกำหนดให้เริ่มติดตั้ง GPS ตั้งแต่เมื่อใด
กฎหมาย GPS คือกฎหมายที่ว่าด้วยการกำหนดให้ รถลากจูง รถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท และรถบรรทุกขนาด
ใหญ่ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ที่จดทะเบียนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง
ของรถ (GPS Tracker) และเครื่องบ่งชี้พนักงานขับรถ หรือเครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe Card Reader)
สำหรับรูดใบขับขี่ที่ต้องติดตั้งพร้อมกัน
เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลรถต่าง ๆ เข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก เพื่อยกระดับความปลอดภัยของระบบ
ขนส่งสาธารณะ ทำให้กรมการขนส่งทางบกและผู้ประกอบการ สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถได้แบบ
เรียลไทม์ อันจะส่งผลดีทั้งในแง่ของการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
ประเภทรถที่ต้องติดตั้ง GPS ตามกฎหมาย มีประเภทไหนบ้าง ?
กรมขนส่งทางบกประกาศให้มีการติดตั้งเครื่อง GPS Tracker และเครื่องรูดบัตรแถบแม่เหล็กให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่สิ้นปี 2562 ที่
ผ่านมา โดยประเภทรถที่ต้องติดตั้ง GPS ตามกฎหมาย มีด้วยกัน 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี

กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง
- รถโดยสารประจำทางสองชั้น
- รถโดยสารไม่ประจำทาง
- รถตู้ร่วม บขส.
- รถตู้โดยสารประจำทาง
- รถแท็กซี่ (ป้ายเหลือง)
ส่วนรถโดยสารสาธารณะที่ยกเว้นติด GPS ขนส่ง ได้แก่ รถสองแถว, รถเมล์เล็กในซอย, รถหมวด 4 (รถโดยสารที่วิ่งประจำอยู่
ในเส้นทาง ที่มีจุดต้นทางและปลายทางอยู่ระหว่างอำเภอกับจังหวัดหรือระหว่างอำเภอกับอำเภอ เช่น อุบลราชธานี-เขมราฐ),
รถ รถหมวด รถโดยสารที่วิ่งอยู่ในเเขต กรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล เมือง และเส้นทางต่อเนื่อง
กลุ่มรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง
ส่วนรถบรรทุกนั้น กฎหมายกำหนดให้รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ทั้งรถบรรทุกสาธารณะและรถบรรทุกส่วนบุคคล รวมถึงรถลาก
จูง เป็นรถที่ต้องติดตั้ง GPS ตามกฎหมาย
- รถตู้บรรทุก
- รถกระบะบรรทุก
- รถบรรทุกของเหลว
- รถบรรทุกวัตถุอันตราย
- รถบรรทุกยกเทได้ (รถดั๊มพ์)
- รถบรรทุก พร้อมเฮี๊ยบ
- รถบรรทุกติดตั้งเครื่องฉีดปูน
- รถบรรทุกติดตั้งเครื่องฮุกลิฟต์
- รถเครน
หากไม่ติดตั้ง GPS Tracking จะเป็นอย่างไรบ้าง?
กรณีเจ้าของกิจการรถบรรทุกที่ฝ่าฝืนการติดตั้ง GPS Tracking จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 35
และมาตรา 131 มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือถูกพิจารณาให้พักการใช้งานหรือยกเลิกใบขับขี่รถบรรทุกได้อีกด้วย
ทางด้านคนขับรถบรรทุกเอง หากไม่ส่งข้อมูล GPS Tracking ให้กับกรมการขนส่งทางบก จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทาง
บก พ.ศ.2522 มาตรา 102 และมาตรา 127 เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งมีโทษปรับ
1,000-5,000 บาท
หากมีการใช้งานเครื่องตัดสัญญาณหรือรบกวนสัญญาณ GPS ติดรถบรรทุกทำให้ไม่สามารถติดตามตำแหน่งรถบรรทุกได้จะมี
ความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2558 มาตรา 6 และมาตรา 23 มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นข้อกฎหมายที่ผู้ประกอบการ / ผู้ขับขี่ควรรู้เมื่อทำการติดตั้ง GPS ตามกฎระเบียบข้อบังคับกรมการ
ขนส่งทางบก ที่ควรทราบเอาไว้ เพื่อจะได้ไม่กระทำความผิดมีดังนี
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย | ความผิด | บทลงโทษทางกฎหมาย |
เ จ ้ า ข อ ง ร ถ / ผู้ประกอบการ ขนส่ง | ถอดเครื่อง GPS หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ | ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท |
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ความผิด บทลงโทษทางกฎหมาย เ จ ้ า ข อ ง ร ถ / ผู้ประกอบการ ขนส่ง | ตรวจพบอุปกรณ์ชำรุด / มีการแก้ไขดัดแปลงตัว อุปกรณ | มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท |
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ความผิด บทลงโทษทางกฎหมาย เ จ ้ า ข อ ง ร ถ / ผู้ประกอบการ ขนส่ง | ใช้รถที่ไม่จดทะเบียน และไม่ชำระภาษีประจำป | ปรับไม่เกิน 50,000 บาท |
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ความผิด บทลงโทษทางกฎหมาย เ จ ้ า ข อ ง ร ถ / ผู้ประกอบการ ขนส่ง | ขับรถเกินชั่วโมงทำงาน / ไม่ทำการหยุดพัก / ไม่มี ใบอนุญาตขับรถ | ปรับไม่เกิน 50,000 บาท |
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย | ความผิด | บทลงโทษทางกฎหมาย |
คนขับรถบรรทุก | ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดต่อเนื่อง เกิน 2 นาที | ปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท |
คนขับรถบรรทุก | ขับรถเกินระยะเวลาที่กำหนด (การขับรถได้ ต่อเนื่องกันต้องไม่เกิน 4 ชั่วโมง และเมื่อครบแล้วต้อง หยุดพักอย่างน้อย 30 นาท จึงจะสามารถรูดบัตรใบขับขี่และขับรถต่อได้อีก 4 ชั่วโมง) | โทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรืออาจสั่งพักใบอนุญาต ได้ไม่เกิน 180 วัน |
คนขับรถบรรทุก | การขับรถโดยไม่แสดงตัวผู้ขับรถ หรือใช้ใบอนุญาตผิด ประเภท | ผู้ตรวจการณ์มีออำนาจสั่งให้มารายงาน ตัว หรือสั่งพักใบอนุญาตได้ไม่เกิน 180 วัน |
หลักการทำงานของ GPS ขนส่ง เป็นอย่างไร
ส่วนหลักการทำงาน รวมไปถึงการส่งข้อมูลต่าง ๆ GPS Tracker ก็มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- คนขับรถต้องรูดใบขับขี่ก่อนขับรถทุกครั้ง หากไม่รูดบัตรหรือใช้บัตรผิดประเภทจะมีเสียงร้องเตือนจนกว่าจะใช้บัตรที่
ถูกประเภทรูด - เครื่อง GPS Tracker จะส่งข้อมูลคนขับรถ ตำแหน่งที่ตั้ง และความเร็วในการขับขี่ไปยัง Server ของกรมการขนส่ง
ทางบก ผ่านระบบเครือข่ายสัญญาณมือถือทุก 1 นาทีตลอด 24 ชม. - ผู้ประกอบสามารถเช็กตำแหน่งรถและรายงานต่าง ๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ได้ตลอด 24 ชม.
cย้อนหลังได้อย่างน้อย 6 เดือน
กฎหมายบังคับติดตั้ง GPS Tracking ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง
การติดตั้งระบบติดตาม GPS ในรถบรรทุกและรถโดยสารมีประโยชน์หลายประการ ดังต่อไปนี้

- การปฏิบัติตามกฎระเบียบ
GPS Tracker ช่วยให้การปฏิบัติตามข้อกฎหมายและกฎบังคบต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น เช่น สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
เกี่ยวกับชั่วโมงการขับขี่ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าคนขับรถบรรทุกจะไม่ขับรถเกินชั่วโมงที่ได้รับอนุญาต และป้องกันอุบัติเหตุที่เกิด
จากความเหนื่อยล้าจากการขับรถ เช่น การหลับใน เป็นต้น - การตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่
สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้ เช่น การใช้ความเร็ว การเบรกอย่างรุนแรง และการเร่งความเร็วอย่างรวดเร็ว
ข้อมูลนี้สามารถใช้ระบุและจัดการกับแนวทางปฏิบัติในการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย ส่งเสริมพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ดีขึ้น และลด
ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ - เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
การติดตามด้วย GPS ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของยานพาหนะโดยเปิดใช้งานการป้องกันการโจรกรรมและการกู้คืน ในกรณีที่
รถถูกโจรกรรม ระบบ GPS สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของรถที่ถูกโจรกรรม
4.การจัดการยานพาหนะ
ช่วยให้สามารถจัดการยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบตำแหน่งของยานพาหนะได้แบบเรียลไทม์ติดตาม
เส้นทาง และจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม สิ่งนี้ช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการใช้เชื้อเพลิง และลด
เวลาการหยุดทำงานของยานพาหนะให้เหลือน้อยที่สุด - การเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทาง
เพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางได้โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเกี่ยวกับสภาพการจราจร การปิดถนน และเส้นทางอื่น ๆ
สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ขับขี่เลือกเส้นทางที่มีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาที่สุด ลดเวลาเดินทางและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม - การบำรุงรักษาและการติดตามประสิทธิภาพ
ระบบติดตาม GPS สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยานพาหนะ รวมถึงการใช้เชื้อเพลิง การวินิจฉัยเครื่องยนต์
และข้อกำหนดในการบำรุงรักษา ข้อมูลนี้ช่วยให้สามารถจัดตารางการบำรุงรักษา ก ลดโอกาสในการเสียและการซ่อมที่มี
ค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ยังช่วยในการตรวจสอบการปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษาของไดรเวอร์ได้อีกด้วย
การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ทำให้ระบบติดตาม GPS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น และการ
จัดการโดยรวมของรถบรรทุกและรถโดยสารประจำทางที่ดีขึ้น
สรุป
การติดตั้ง GPS รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะ นอกจะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งเป็นหัวใจหลักของ
กฎหมายบังคับติด GPS แล้ว ยังให้ประโยชน์ในแง่ของการป้องกันการถูกโจรกรรมบนท้องถนน รวมไปถึงช่วยให้สามารถ
จัดการยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับเส้นทางให้เหมาะสม ปรับปรุงพฤติกรรมของคนขับ และเพิ่มความรับผิดชอบ
ในขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การบูรณาการ GPS ในอุตสาหกรรมการขนส่งจะยังคงเป็นส่วนสำคัญในการ
ส่งเสริมระบบการขนส่งที่ปลอดภัย ยั่งยืน และเชื่อถือได้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน
By tomadmin